สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ

 สถานการณ์ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก จึงมีการร่วมกันในการดำเนินงานการเฝ้าระวังปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ระหว่างกรมอนามัยและกรมควบคุมโรค เพื่อจัดการและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ขาดการดูแลจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ รวมทั้งสุขภาพของประชาชนด้วย  ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาหลักที่สำคัญในประเทศไทย โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น หรือในเขตอุตสาหกรรมต่างๆ โดยพื้นที่ที่พบมากได้แก่ กรุงเทพมหานคร  สมุทรปราการ เป็นต้น อีกทั้งปัญหามลพิษจากสภาวะหมอกควันในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และขยายวงกว้างมากขึ้น แน่นอนว่า ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ทั้งระยะสั้น และระยะยาว เนื่องจากมีหลักฐานทางด้านวิชาการที่สนับสนุนอย่างชัดเจนว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ทั้งระบบทางเดินหายใจ โรคปอดติดเชื้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย เป็นกลุ่มที่ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ   ตามที่ได้ทราบผ่านการรายงานข่าว รวมถึงสารที่ส่งผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศที่ผ่านมา พบว่าในบางพื้นที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ที่ยังเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ประเทศไทยกำหนด โดยฝุ่นขนาดเล็กนี้สามารถเกิดได้จากกระบวนการทางเคมี เข่น กระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ถ่านหิน กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ยานพาหนะ การเผาป่า การเกษตร และกระบวนการทางกลศาสตร์ เช่น การระเบิด บดย่อยหินในโรงโม่หินหรือการก่อสร้าง ซึ่งทุกกระบวนการนี้ย่อมก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กจำนวนมาก ถึงจะมีการกำหนดมาตรฐานลดและป้องกันอย่างมากมาย แต่ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กยังคงเป็นปัญหาในหลายพื้นที่ […]